มิเตอร์ริ่งปั๊ม กับการบำบัดน้ำเสีย
ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆมักมีน้ำเสียจากการใช้งานภายในโรงงาน ซึ่งน้ำเสียนี้ต้องได้รับการบำบัดก่อนการปล่อยทิ้งเพื่อลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นกับปัจจัยต่างๆ เช่น ขึ้นกับปัจจัยของลักษณะน้ำเสียที่เกิดขึ้น ระดับการบำบัดน้ำเสียที่ต้องการ สภาพทั่วไปของสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การดูแลและบำรุงรักษา เป็นต้น โดยการบำบัดน้ำเสียเพื่อให้ระบบบำบัดน้ำเสียมีความเหมาะสมกับแต่ละสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แบ่งได้ตาม กระบวนการที่ใช้ในการกำจัดสิ่งเจือปนในน้ำเสียเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.การบำบัดทางกายภาพ (Physical Treatment) 2.การบำบัดทางเคมี (Chemical Treatment) และ 3.การบำบัดทางชีวภาพ (Biological Treatment)
ยกตัวอย่าง การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีทางเคมี (Chemical Treatment) จะเป็นวิธีที่ใช้กระบวนการทางเคมีในการบำบัดน้ำเสียด้วยการทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือป่นในน้ำเสียโดยจะใช้สำหรับน้ำเสียที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค่าความเป็นกรด-ด่าง( PH) สูงหรือต่ำเกินไป น้ำเสียที่มีโลหะหนัก มีสารแขวนลอยที่ตกตะกอนยาก มีไขมันและน้ำมันที่ละลายน้ำ หรือน้ำเสียที่มีระดับสารเคมีที่สูงเกินไป ซึ่งวิธีการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีทางเคมีเป็นวิธีพื้นฐานที่พบได้ทั่วไปในงานภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาคอุตสาหกรรมโรงงานอุตสาหกรรมเคมี, อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมยานยนตร์ เป็นต้น
โรงงานแต่ละประเภทจะมีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อทำการบำบัดหรือปรับสภาพน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกโรงงาน ระบบการบำบัดน้ำเสียในโรงงานที่ใช้วิธีการบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนทางเคมีนี้ จะใช้ปั๊มจ่ายสารเคมี (Metering pump) หรือมิเตอร์ริ่งปั๊ม สำหรับสูบจ่ายสารเคมีเพื่อปรับสภาพน้ำ เช่น
- การเติมกรดไฮโดรคลอริก(HCL), กรดซัลฟิวริก(H2SO4), โซเดียมไฮดรอกไซต์หรือโซดาไฟ(NaOH) ด้วยปั๊มจ่ายสารเคมี (Metering pump) เพื่อปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง(PH) ในระบบถังกวนให้ค่าความเข้มข้นของน้ำเสียอยู่ในระดับค่าที่เป็นกลางก่อนการปล่อยสู่ภายนอกโรงงาน
- การเติมสารส้ม, PAC, เคมีพอลิเมอร์ เพื่อให้เกิดการตกตะกอนในระบบถังตกตะกอนเป็นการแยกตะกอนกับน้ำออกจากกันเพื่อง่ายต่อการจัดการในขั้นต่อไป
- การเติมคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่เจือป่นในน้ำ
- การเติมเคมีกำจัดตะกอนหรือตะกรันในระบบคูลลิ่งและระบบบอยเลอร์ รวมทั้งการจ่ายสารเคมีในระบบ RO และระบบ DI ในระบบน้ำดี เป็นต้น
สำหรับการเลือกใช้มิเตอร์ริ่งปั๊มสามารถเลือกใช้งานได้ทั้งแบบมอเตอร์ขับเคลื่อนด้วยระบบ electromagnet และแบบโซลินอยด์ (Solinoid Metering Pump) ทั้งสองแบบมีความสามารถในการควบคุมปริมาณและแรงดันได้ดี สามารถเติมของเหลวได้อย่างแม่นยำ วัสดุหัวปั๊มมีให้เลือกใช้งานได้หลากหลายแบบ ทั้งแบบ PP, PVC, PTFE และ Stainless steel มิเตอร์ริ่งปั๊มสามารถปรับความถี่(Frequency) ปริมาณ(Volume) และสามารถควบคุมหรือตัดการทำงานเมื่อสารเคมีหมดถังได้อัตโนมัติ
สอบถามการเลือกใช้ มิเตอร์ริ่งปั๊ม ( Metering pump)
หรือข้อมูลสินค้าอื่นๆ ได้ตามได้ตามที่อยู่ด้านล่าง