DIAPHRAGM PUMP (ไดอะแฟรมปั๊ม) หรือ AODD PUMP การทำงานของปั๊มเหมือนกับการทำงานของปั๊มลูกสูบ เพียงแต่ลูกสูบไม่มีการสัมผัสกับของเหลวโดยตรง แต่มีการติดตั้งแผ่นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นคั่นเอาไว้ระหว่างลูกสูบกับของเหลวซึ่งเราเรียกว่าแผ่นไดอะแฟรม โดยใช้ลูกสูบเป็นตัวส่งแรงไปที่แผ่นไดอะแฟรม เพื่อสร้างแรงดันอากาศและมีลักษณะการทำงานแบบดูด – อัด เป็น stroke ดังนั้นจึงสามารถป้องกันการรั่วไหลของสารที่ทำการปั๊มและป้องกันไม่ให้สารที่ใช้หล่อลื่นระหว่างลูกสูบ กับกระบอกสูบเข้าไปปนเปื้อนสารที่ทำการปั๊มด้วย ปั๊มพวกนี้บางชนิดสามารถทำงานกับของเหลวที่สามารถกัดกร่อนโลหะได้เพราะตัวลูกสูบและกระบอกสูบที่ทำจากโลหะนั้นไม่ได้มีการสัมผัสกับของเหลวโดยตรง ในกรณีที่ของเหลวที่ทำการปั๊มนั้นมีของแข็งแขวนลอยอยู่ โอกาสที่ของแข็งที่แขวนลอยจะเข้าไปแทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างกระบอกสูบและลูกสูบจะไม่มี ปั๊มพวกนี้ก็ให้พฤติกรรมการไหลเป็นจังหวะ โดยนำไปใช้งานกับของเหลวหลากหลายที่มีชนิด เช่น

  1. น้ำมันที่มีความหนืด เช่น น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant), น้ำมันไฮโดรลิค (Hydraulic Oil) ฯลฯ
  2. น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดีเซล (Diesel), เบนซิน (Gasoline), น้ำมันก๊าด (Kerosene) ฯลฯ
  3. ตัวทำละลาย (Solvent) เช่น Acetone, Toluene, Alcohol ฯลฯ
  4. สารเคมีจำพวกกรด-ด่าง เช่น สารเคมีในงานบำบัดน้ำ (Wasted Water Treatment) เช่น PAC, NaOCL (คลอรีนน้ำ), สารส้มน้ำ ฯลฯ
  5. ของเหลวที่มีความหนืดสูง เช่น Glycerin, Resin, Polymer ฯลฯ
  6. ของเหลวที่มีตะกอนหรือของแข็งแขวนลอยอยู่ เช่น ของเหลวในกระบวนการผลิตเซรามิกหรือเครื่องสุขภัณฑ์ (SLIP), ของเหลวใน กระบวนการผลิตกระดาษ ฯลฯ

โดย แผ่นไดอะแฟรมจะมีหลากหลายชนิด เช่น BUNA-N, Neoprene, Santoprene, FKM (Viton), EDPM, Hytrel, PTFE (เทฟล่อน) ฯลฯ ทางผู้ใช้งานจึงต้องเลือกรุ่นของ ตัวปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งาน แต่ละประเภท (ลิ้งค์ไปหน้าอะไหล่ แผ่นไดอะแฟรม)
AP-Pumpe_Funktionsprinzip

ภาพการทำงาน ของ DIAPHRAGM PUMP

(ภาพประกอบจาก Internet )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จุดเด่นของ DIAPHRAGM PUMP (ไดอะแฟรมปั๊ม) 

  • ขับเคลื่อนด้วยระบบลมจึงใช้งานในโซนอันตรายได้ (Explosion Proof)
  • เมื่อแรงดันสมดุล ปั๊มจะหยุดทำงานอัตโนมัติจึงไม่ต้องติดตั้งวาล์วระบายแรงดัน (Relief   Valve)
  • เป็นระบบ Self-Priming (สามารถดูดของเหลวได้ด้วยตัวเอง)
  • ทนทานต่อความเสียหายจากการเดินปั๊มโดยไม่มีของเหลวอยู่ภายในตัวปั๊ม (Dry-Running Ability)
  • ให้ Head ที่สูง (High Head)
  • รองรับของเหลวที่มีความหนืดได้ค่อนข้างสูง (Medium Viscosity)
  • ควบคุมปริมาณของเหลวที่ส่งออกจากตัวปั๊มได้ค่อนข้างแม่นยำ (Volume Control)
  • รองรับของแข็งหรือสิ่งแขวนลอยได้ดี (Solid Handling)

ไดอะแฟรมปั๊ม  จึงเป็นที่นิยมในแวดวงอุตสาหกรรม โดยมักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับใช้ในงานขนถ่ายของเหลว โดยมีท่อหลายขนาดตั้งแต่ ½”, 1”, 1½” และ 2” ให้เลือกใช้งาน โดยตัวปั๊มจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. Metallic AODD Pump  จะเป็นปั๊มที่มีตัวถัง (Body) ที่ผลิตจากโลหะ จะมีจุดเด่นในเรื่องความแข็งแรงทนทานสูง สามารถทนอุณหภูมิได้สูง มีขนาดท่อตั้งแต่ ½”, 1”, 1½” และ 2” ให้เลือกใช้งาน เช่น
  • ปั๊มไดอะแฟรมโลหะ ดูดน้ำมัน กาว สารละลาย
  • ปั๊มไดอะแฟรมสแตนเลส ดูดอาหารเครื่องดื่ม
  • ปั๊มไดอะแฟรมสแตนเลส Hygienic ดูดอาหาร และ ยา
  • ปั๊มไดอะแฟรมสำหรับดูดผง หรือแป้ง
  1. Non-metallic AODD Pump จะเป็นปั๊มที่มีตัวถัง (Body) ที่ผลิตจากพลาสติกวิศวกรรมจำประเภทเทอร์โมพลาสติก มีจุดเด่นในเรื่องของความต้านทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ประเภทกรด, น้ำหนักเบา มีขนาดท่อตั้งแต่ ½”, 1”, 1½” และ 2” ให้เลือกใช้งาน

เพราะฉะนั้นการจะเลือกใช้งาน ปั๊มไดอะแฟรมให้เหมาะสม กับการใช้งานจึงต้องดูที่การใช้งานเป็นหลัก ว่าจะใช้งานกับของเหลวประเภทไหนเพื่อใช้วัสดุที่เหมาะสมแล้วค่อยเลือกระบบการทำงานของปั๊มยังมีอีกถึง 4 แบบ หลักๆ คือ

  1. ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วย ลม
  2. ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วย มอเตอร์
  3. ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วยระบบ ไฮโดรลิค
  4. ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วยระบบ แม่เหล็กไฟฟ้า

และจึงค่อยเลือกขนาดของตัวปั๊มเพื่อต้องการอัตราการจ่ายของเหลวมาก-น้อย เพราะคุณสมบัติการทำงานของปั๊มแต่ละรุ่น จะมีการทำงานที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของวัตถุดิบและอัตราการจ่ายของเหลวขนาดไหนเพื่อจะได้เลือกขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ

สอบถามการเลือกใช้ ปั๊มไดอะแฟรม(DIAPHRAGM PUMP)
หรือข้อมูลสินค้าอื่นๆ ได้ตามได้ตามที่อยู่ด้านล่าง

บริษัท ไอ.เอ็ม.อี. คอร์ปอเรชั่น จำกัด

HotLine : 092 223 8984
Line Id : @toolsheep
Email : onlineshop@imecorp.co.th