DIAPHRAGM PUMP (ไดอะแฟรมปั๊ม) หรือ AODD PUMP การทำงานของปั๊มเหมือนกับการทำงานของปั๊มลูกสูบ เพียงแต่ลูกสูบไม่มีการสัมผัสกับของเหลวโดยตรง แต่มีการติดตั้งแผ่นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นคั่นเอาไว้ระหว่างลูกสูบกับของเหลวซึ่งเราเรียกว่าแผ่นไดอะแฟรม โดยใช้ลูกสูบเป็นตัวส่งแรงไปที่แผ่นไดอะแฟรม เพื่อสร้างแรงดันอากาศและมีลักษณะการทำงานแบบดูด – อัด เป็น stroke ดังนั้นจึงสามารถป้องกันการรั่วไหลของสารที่ทำการปั๊มและป้องกันไม่ให้สารที่ใช้หล่อลื่นระหว่างลูกสูบ กับกระบอกสูบเข้าไปปนเปื้อนสารที่ทำการปั๊มด้วย ปั๊มพวกนี้บางชนิดสามารถทำงานกับของเหลวที่สามารถกัดกร่อนโลหะได้เพราะตัวลูกสูบและกระบอกสูบที่ทำจากโลหะนั้นไม่ได้มีการสัมผัสกับของเหลวโดยตรง ในกรณีที่ของเหลวที่ทำการปั๊มนั้นมีของแข็งแขวนลอยอยู่ โอกาสที่ของแข็งที่แขวนลอยจะเข้าไปแทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างกระบอกสูบและลูกสูบจะไม่มี ปั๊มพวกนี้ก็ให้พฤติกรรมการไหลเป็นจังหวะ โดยนำไปใช้งานกับของเหลวหลากหลายที่มีชนิด เช่น
- น้ำมันที่มีความหนืด เช่น น้ำมันหล่อลื่น (Lubricant), น้ำมันไฮโดรลิค (Hydraulic Oil) ฯลฯ
- น้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดีเซล (Diesel), เบนซิน (Gasoline), น้ำมันก๊าด (Kerosene) ฯลฯ
- ตัวทำละลาย (Solvent) เช่น Acetone, Toluene, Alcohol ฯลฯ
- สารเคมีจำพวกกรด-ด่าง เช่น สารเคมีในงานบำบัดน้ำ (Wasted Water Treatment) เช่น PAC, NaOCL (คลอรีนน้ำ), สารส้มน้ำ ฯลฯ
- ของเหลวที่มีความหนืดสูง เช่น Glycerin, Resin, Polymer ฯลฯ
- ของเหลวที่มีตะกอนหรือของแข็งแขวนลอยอยู่ เช่น ของเหลวในกระบวนการผลิตเซรามิกหรือเครื่องสุขภัณฑ์ (SLIP), ของเหลวใน กระบวนการผลิตกระดาษ ฯลฯ
โดย แผ่นไดอะแฟรมจะมีหลากหลายชนิด เช่น BUNA-N, Neoprene, Santoprene, FKM (Viton), EDPM, Hytrel, PTFE (เทฟล่อน) ฯลฯ ทางผู้ใช้งานจึงต้องเลือกรุ่นของ ตัวปั๊มให้เหมาะสมกับการใช้งาน แต่ละประเภท (ลิ้งค์ไปหน้าอะไหล่ แผ่นไดอะแฟรม)
ภาพการทำงาน ของ DIAPHRAGM PUMP
(ภาพประกอบจาก Internet )
จุดเด่นของ DIAPHRAGM PUMP (ไดอะแฟรมปั๊ม)
- ขับเคลื่อนด้วยระบบลมจึงใช้งานในโซนอันตรายได้ (Explosion Proof)
- เมื่อแรงดันสมดุล ปั๊มจะหยุดทำงานอัตโนมัติจึงไม่ต้องติดตั้งวาล์วระบายแรงดัน (Relief Valve)
- เป็นระบบ Self-Priming (สามารถดูดของเหลวได้ด้วยตัวเอง)
- ทนทานต่อความเสียหายจากการเดินปั๊มโดยไม่มีของเหลวอยู่ภายในตัวปั๊ม (Dry-Running Ability)
- ให้ Head ที่สูง (High Head)
- รองรับของเหลวที่มีความหนืดได้ค่อนข้างสูง (Medium Viscosity)
- ควบคุมปริมาณของเหลวที่ส่งออกจากตัวปั๊มได้ค่อนข้างแม่นยำ (Volume Control)
- รองรับของแข็งหรือสิ่งแขวนลอยได้ดี (Solid Handling)
ไดอะแฟรมปั๊ม จึงเป็นที่นิยมในแวดวงอุตสาหกรรม โดยมักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับใช้ในงานขนถ่ายของเหลว โดยมีท่อหลายขนาดตั้งแต่ ½”, 1”, 1½” และ 2” ให้เลือกใช้งาน โดยตัวปั๊มจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
- Metallic AODD Pump จะเป็นปั๊มที่มีตัวถัง (Body) ที่ผลิตจากโลหะ จะมีจุดเด่นในเรื่องความแข็งแรงทนทานสูง สามารถทนอุณหภูมิได้สูง มีขนาดท่อตั้งแต่ ½”, 1”, 1½” และ 2” ให้เลือกใช้งาน เช่น
- ปั๊มไดอะแฟรมโลหะ ดูดน้ำมัน กาว สารละลาย
- ปั๊มไดอะแฟรมสแตนเลส ดูดอาหารเครื่องดื่ม
- ปั๊มไดอะแฟรมสแตนเลส Hygienic ดูดอาหาร และ ยา
- ปั๊มไดอะแฟรมสำหรับดูดผง หรือแป้ง
- Non-metallic AODD Pump จะเป็นปั๊มที่มีตัวถัง (Body) ที่ผลิตจากพลาสติกวิศวกรรมจำประเภทเทอร์โมพลาสติก มีจุดเด่นในเรื่องของความต้านทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมี ประเภทกรด, น้ำหนักเบา มีขนาดท่อตั้งแต่ ½”, 1”, 1½” และ 2” ให้เลือกใช้งาน
เพราะฉะนั้นการจะเลือกใช้งาน ปั๊มไดอะแฟรมให้เหมาะสม กับการใช้งานจึงต้องดูที่การใช้งานเป็นหลัก ว่าจะใช้งานกับของเหลวประเภทไหนเพื่อใช้วัสดุที่เหมาะสมแล้วค่อยเลือกระบบการทำงานของปั๊มยังมีอีกถึง 4 แบบ หลักๆ คือ
- ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วย ลม
- ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วย มอเตอร์
- ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วยระบบ ไฮโดรลิค
- ปั๊มไดอะแฟรมแบบขับเคลื่อนด้วยระบบ แม่เหล็กไฟฟ้า
และจึงค่อยเลือกขนาดของตัวปั๊มเพื่อต้องการอัตราการจ่ายของเหลวมาก-น้อย เพราะคุณสมบัติการทำงานของปั๊มแต่ละรุ่น จะมีการทำงานที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของวัตถุดิบและอัตราการจ่ายของเหลวขนาดไหนเพื่อจะได้เลือกขนาดการใช้งานได้ตามความต้องการ
สอบถามการเลือกใช้ ปั๊มไดอะแฟรม(DIAPHRAGM PUMP)
หรือข้อมูลสินค้าอื่นๆ ได้ตามได้ตามที่อยู่ด้านล่าง